ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VDO

                วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)


ชนิดของวิดีโอ
                วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่น) สำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น



การนำวีดีโอไปใช้งาน
                วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้
              - ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
                - ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
                - ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่
              - ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอก ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอ ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace) ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น 1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
                ปัญหาหนึ่งของความไม่ชัดเจนระหว่างวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ก็คือยังเข้าใจผิดว่าทั้งสองสิ่งนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน ทั้งที่จริงแล้วพื้นฐานของวีดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอก สำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วีดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยี ทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบ DVT และ HDTV ร่วมกันในอนาคต
                ระบบการซ้อนภาพวีดีโอ (Video Overlay System)  หลังจากพัฒนาวีดีโอและวีดีโอซีดี เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้ จึงได้มีการนำวีดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอ แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงาน การแสดงภาพวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล และจะต้องติดการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจนสามารถแสดงผลได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น
                ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วีดีโอและโทรทัศน์วีดีโอ ปกติขนาดจอภาพของคอมพิวเตอร์จะใช้อัตราส่วน 4:3 เท่ากับกับจอภาพโทรทัศน์ แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้ 480 เส้นไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์ และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67 Hz เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายเรียบไปตามขอบโค้งของขนาดจอภาพโทรทัศน์ (Overscan) โดยตรงข้ามกับขนาดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าภาพบนจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอภาพโทรทัศน์ นอกจากนี้สีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB ด้วยการสร้างภาพเป็นดิจิตอลวีดีโอที่มีความชัดเจนมากกว่าจอโทรทัศน์ที่จะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นอนาลอกวีดีโอ เพื่อแสดงผลออกมาบนจอภาพ ดังนั้นเมื่อจะสร้างมัลติมีเดียด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงภาพด้วยองค์ประกอบสี RGB หรือแปลงสัญญาณก่อนที่จะแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ เช่น เกมส์เพลยสเตชัน และ VCD
การผลิตวีดีโอ
1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใด และกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อที่จะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นเก็บไว้
3. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพอย่างเดียว หรือทั้งภาพและเสียงทีได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลาย ๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์  .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้
4.การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาเรียงต่อกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ  เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือจะทำการปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้ เช่นการตัดต่อวีดีโอด้วย Adobe Premiere ปัจจุบันการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษ ปรับแต่งภาพให้สวยงามได้ จึงได้รับความนิยม แต่ผู้ที่ต้องการตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องไม่ลืมว่างบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อนั้นมีราคาแพง หากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะกับงานที่จะทำ เพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
5. การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่าง ๆ เทปวีดีโอ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อจะได้เก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่
การบีบอัดวีดีโอ
                เป็นการจัดเก็บข้อมูลภาพและเสียงของไฟล์ต้นฉบับให้มีขนาดลดน้อยลง แต่ยังคงมีปริมาณของข้อมูลเท่าเดิม แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าไฟล์อาจจะมีคุณภาพลดน้อยลงไปตามขนาดที่บีบอัด แต่เนื่องจากการบีบอัดข้อมูลมีประโยชน์เป็นอย่างมากจึงทำให้มีการพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้
                - เจเพ็ก (JPEG) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูล เนื่องจากมีความต้องการที่จะย่อภาพสีโดยให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำการสุ่มตัวอย่างของจุดภาพในส่วนต่าง ๆ ก่อนที่จะบีบอัดข้อมูล โดยตรวจสอบพื้นที่ว่าจะมีสีอะไรอยู่มากที่สุด จากนั้นจะยุบพื้นที่ให้เหลือเพียงสีที่ต้องการเพียงหนึ่งพิกเซล ซึ่ง JPEG จะถูกนำมาใช้กับภาพนิ่งที่อัตราส่วนการบีบประมาณ 25:1, 40:1 จนถึง 100:1
                Motion – JPEG หรือ M – JPEG : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลที่สามารถบีบอัดและขยายสัญญาณได้ตั้งแต่ 12:1, 5:1 และ 2:1 ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีคุณภาพและเป็นที่น่าพอใจ สำหรับกลุ่มผู้ผลิตงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก จึงเป็นระบบที่นิยมใช้ในการ์ตัดต่อ และการ์ดแคปเชอร์ (Capture Card) แบบต่าง แต่ในปัจจุบันเริ่มความนิยมเนื่องจากระบบดิจิตอลของกล้องดิจิตอลวีดีโอเข้ามาแทนที่
                CODEC : เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้กับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยส่วนมาก CODEC จะนิยมใช้กันในบีบอัดแบบ MPEG, Indeo และ Cinepak
                เอ็มเพ็ก (MPEG : Moving Picture Experts Group) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง โดยใช้ระบบ DCT ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กับระบบวีดีโอคุณภาพสูงทั่วไป จะมีความคล้ายคลึงกับการบีบอัดข้อมูลแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำกันของภาพต่อไปด้วย การบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG นี้ เป็นแบบไม่สมมาตร เนื่องจากขั้นตอนในการเข้ารหัสสัญญาณวีดีโอนานกว่าขั้นตอนการถอดรหัสข้อมูล โดย MPEG ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนี้
                                                - MPEG-1 ใช้กับวีดีโอที่ดูตามบ้าน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ VHS ซึ่งไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดข้อมูลแบบนี้สามารถใช้เครื่องเล่น CD ทั่วไป อ่านหรือเขียนข้อมูลได้ แต่ยังให้ภาพที่ค่อนข้างหยาบ สัญญาณสีแต่ละจุดไม่สามารถกำหนดเป็นสีที่ถูกต้องได้ ถ้าเป็นระบบที่ใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ช่วยในการถอดรหัสจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เต็มจอภาพ แต่ถ้าใช้ซอฟต์แวร์อย่างเดียวจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เพียงครึ่งจอภาพ
                                                - MPEG-2 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเฉพาะการบีบอัดข้อมูลแบบนี้ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณผลเพื่อแทนค่าจุดสีต่าง ๆ ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และจะคำนวณทีละหลาย ๆ ภาพ เรียกว่า “GOP (Group of Picture) “ ซึ่งเป็นการมองภาพครั้งละ 8-24 ภาพ โดยจะดูจากภาพที่หนึ่งของ GOP เป็นหลัก จากนั้นจะทำการเข้ารหัสภาพ แล้วมองภาพถัดไปว่ามีความแตกต่างจากภาพแรกที่จุดใด จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบและเก็บเฉพาะที่แตกต่างของภาพไว้ในเฟรมนั้น ส่วนภาพต่อไปก็ทำการเปรียบเทียบกับภาพติดกัน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เช่นกัน ทำให้สามารถลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเก็บ และเก็บบันทึกข้อมูลที่ต้องการถอดรหัสได้
                                                - MPEG-3 เพื่อใช้งานกับโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง หรือเรียกว่า HDTV (High – Definition Television) เป็นโทรทัศน์ดิจิตอลชนิดใหม่ที่ใช้ในสหรัฐ แต่ไม่ได้นำมาใช้งานเนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ
                                                - MPEG-4 เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ Quick Time เพื่อใช้งานทางด้านมัลติมีเดียที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ต่ำ ซึ่งสามารถรวมภาพ เสียง และส่วนประกอบอื่นที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญ MPEG-4 ได้ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบกับวัตถุต่าง ๆ ในภาพได้
                                                - MPEG-7 เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหามัลติมีเดียเข้าด้วยกัน (Multimedia Content Description Interface)  โดยมีจุดหมายที่จะสร้างมาตรฐานการอธิบายข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในการสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนสื่อ
                                                - Microsoft Video : ทำงานในขั้นตอนการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วนการบีบอัดต่ำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับภาพที่มีความเคลื่อนไหวมาก ๆ แต่ความละเอียดต่ำ (240x180 พิกเซล)
                                                - Microsoft RLE : ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีความชัดเจน แต่ไม่เหมาะกับงานวีดีโอ
                                                - DV Format : มีการสร้างระบบการเข้ารหัสเพื่อบันทึกเป็นสัญญาณดิจิตอลโดยตรง เพื่อใช้กับกล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล ซึ่งเรียกการเข้ารหัสแบบนี้ว่า “DV Format” โดยสัญญาณที่ถูกบันทึกจะผ่านการบีบอัดข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้โดยตรงไม่มีปัญหาการสูญเสียความคมชัดของภาพ แต่ข้อมูลภาพดิจิตอลวีดีโอค่อนข้างใหญ่การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เวลานาน จึงมีการพัฒนามาตรฐาน IEEE หรือที่เรียกว่า “Fire Wire” มารองรับการส่งข้อมูลแบบ DV จนกระทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับกล้องดิจิตอลวีดีโอในที่สุด
                                                - DivX : กลุ่มโปรแกรมเมอร์ใต้ดินได้ร่วมกันพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถลดข้อมูลเหลือเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณข้อมูลเดิม และยังสามารถเปิดชมภาพยนตร์ด้วยโปรแกรมธรรมดาได้อีกด้วย
                                                - DVI : เป็นเทคโนโลยี CODEC ที่ถูกพัฒนาซึ่งมีมาตรฐาน NTST ในการแสดงภาพที่มีอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที สามารถบันทึกและแสดงภาพวีดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่สมจริงเหมือนในโทรทัศน์ แต่บางครั้งมักจะเกิดปัญหาเพราะเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ เนื่องจากสามารถบันทึกข้อมูลได้ในปริมาณมาก ดังนั้น DVI จึงแก้ปัญหานี้โดยการบีบอัดข้อมูลและคลายข้อมูล DVI ด้วยอุปกรณ์ที่เป็นฮารด์แวร์ทั้งหมด
                                                - Cinepak : เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล สามารถส่งข้อมูลวีดีโอขนาด 24 บิต บนพื้นที่ขนาด 1 ต่อ 4 ของจอภาพวินโดว์ ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของไฟล์วีดีโอที่เป็น *.avi โดยสามารถบีบอัดข้อมูลได้ดีแต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลานานในการบีบอัดข้อมูล
                                                - Indeo : มีพื้นฐานมาจาก DVI ที่เป็นฮาร์ดแวร์ล้วน ๆ ส่วนการเข้าและถอดรหัสของ Indeo จะเป็นซอฟต์แวร์ทั้งหมด โดยนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมด้วยภาพ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวีดีโอ
- Macromedia Flash MX โปรแกรมสำหรับสร้างงานอนิเมชั่น มัลติมีเดีย งานอินเตอร์เอคทีฟ และรองรับงานออนไลน์ต่าง ๆ
- Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Capture ภาพที่นำสัญญาณผ่านเข้ามาสามารถตัดต่อวีดีโอให้อยู่ในฟอร์แมต MPEG I, MPEG II, DV และ VCD ได้
- Adobe Photoshop CS โปรแกรมสำหรับตกแต่งรูปภาพ
- Windows Movie Maker โปรแกรมสำหรับใช้ในการตัดต่อภาพ เป็นมัลติมีเดียสตรีมมิ่งทั้งภาพและเสียงที่ได้จากการตัดต่อวีดีโอ และสามารถนำเข้าไฟล์ไม่ว่าจะเป็น *.avi, *.afs, *.MPEG, *.MPG, *.MPA เป็นต้น
- VirtualDub เป็นโปรแกรมที่ช่วยใส่ Feeling ต่าง ๆ ให้แก่ภาพ ช่วยในการลดเม็ดสีที่คล้ายเม็ดหิมะที่เกิดจากการตัดต่อภาพจาก TV หรือ TV จูนเนอร์ และสามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้
- TMPGEnc หรือทีเอ็มเพ็ค 2 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดัดแปลงไฟล์ VDO แบบ *.avi ให้เป็น *.MPEG ได้สามารถใช้โปรแกรม TMPGEnc ร่วมกับ VirtualDub ได้
- Cyberlink Videolive Mail เป็นโปรแกรมที่สามารถปรับแต่งภาพ และสนับสนุนการรับชมรายการโทรทัศน์ วีดีโอ และบันทึกรายการโทรทัศน์หรือวีดีโอที่รับชมได้
- Flash เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนางานรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานวีดีโอ งานมัลติมีเดีย งานเว็บแอพพลิเคชั่น ระบบ E-Learning  และระบบแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่
รูปแบบการบันทึกข้อมูล
                        ภาพวีดีโอที่ได้จาการบันทึกข้อมูลด้วยกล้องวีดีโอ หรือวีดีโอคลิป ที่ทำการบันทึกด้วยเครื่องบันทึก สามารถนำเข้าภาพได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่หากทำการบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถบันทึกข้อมูลได้หลายรูปแบบดังนี้
ฬ  S-VHS (Super Video Home System) เป็นรูปแบบวีดีโอที่มีคุณภาพ มีความละเอียดสูงกว่า VHS เนื่องจากข้อมูลสีและความสว่าง สามารถจะแยกการบันทึกออกเป็น 2 แทร็กได้ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับปรุงคุณภาพของการแสดงผลให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแพร่ภาพความถี่ต่ำได้อีกด้วย โดยปกติแล้วเทป S-VHS ต้องใช้กับเครื่องเล่น S-VHS จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเล่นกับโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง และหากผู้ผลิตต้องการมัลติมีเดียที่แพร่ภาพผ่านสถานีโทรทัศน์ก็ไม่ควรเลือกการจัดเก็บรูปแบบนี้
    YUV หรือ YUV 4:2:2 เป็นรูปแบบของสัญญาณวีดีโอพื้นฐานโดยที่ Y คือ ค่าความสว่างม U คือค่าสีแดงลบค่าความสว่าง V คือค่าสีน้ำเงินลบค่าความสว่าง (ขนาดของข้อมูลเล็กกว่า 3 เท่า) ในการเก็บบันทึกและการแสดงผลวีดีโอลงบนจอภาพนั้น จะต้องแปลงข้อมูล YUV ให้เป็น RGB ก่อนเสมอ

คุณภาพของวีดีโอ
                        การวัดคุณภาพของวีดีโอสามารถวัดได้จาก อัตราเฟรม และความละเอียดของภาพ
   อัตราเฟรม (Frame Rate) คืออัตราความถี่ในการแสดงภาพจาก Timeline ออกทางหน้าจอ อัตราที่เฟรมถูกแสดงในวีดีโอมีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (FPS ย่อมาจาก Frame Per Second เป็นหน่วยวัดปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการเก็บบันทึกและแสดงวีดีโอ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงเฟรมให้มีความต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว) โดยผู้จัดทำสามารถที่จะกำหนดอัตราเฟรมเองได้ เช่น อัตราเฟรมของภาพยนตร์เท่ากับ  24 fps อัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบ PAL เท่ากับ 25 fps และอัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบ NTSC เท่ากับ 30 fps
    ความละเอียด (Resolution) หมายถึง ความคมชัดของภาพที่แสดงผลออกทางจอภาพ ความละเอียดของจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดทั้งหมดที่เกิดบนจอ จุดต่าง ๆ นี้ เรียกว่า พิกเซล (Pixel)  นอกจากนี้ภาพที่มีขนาดเท่ากัน บางครั้งก็อาจจะมีความละเอียดที่ต่างกันได้ เนื่องจากจำนวนพิกเซลต่างกันจะส่งผลให้ขนาดของพิกเซลต่างกันด้วย ยิ่งความละเอียดของจอภาพสูงจะยิ่งทำให้มองเห็นพื้นที่ใช้งานบนจอกว้างมากขึ้น แต่จะทำให้มีขนาดเล็กลง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัส
                        เมื่อซีพียู Pentium 4 กลายเป็นมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การแปลงข้อมูลวีดีโอที่มีความยาวเป็นชั่วโมงก็ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ต้องรอนาน จึงทำให้แนวโน้มการเข้ารหัสข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
     Ligos LSX-MPEG เป็น Plug-in ที่สนับสนุนโปรแกรม Adobe Premiere 6 ใช้ในการเข้ารหัส MPEG-1,  MPEG-2 อีก ทั้งการ์ดตัดต่อหลายชนิด
    Panasonic MPEG Encoder : เป็นโปรแกรมของบริษัท Panasonic Digital NetworkServe Inc มีสองรุ่นคือ Stand alone และเป็นปลั๊กอินบน Adobe Premiere ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับ LSX
    SoftMPEG Encoder : เป็น Plug-in ของบริษัท Canopus แถมมากับการ์ดตระกูล RT ทุกรุ่น ซึ่งหลังจากติดตั้งการ์ดเสร็จแล้ว จึงติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติมให้กับ Adobe Premiere 6 หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้
    XingMPEG Encoder : โปรแกรมนี้เป็นแบบ Stand Alone สามารถเข้ารหัสข้อมูลได้หลายแบบ สามารถเขียนข้อมูลวีดีโอทำเป็น VCD ได้เช่นเดียวกับโปรแกรม Adobe Premiere
    TMPGEnc (Tsunami MPEG Encoder) : เป็นโปรแกรมเข้ารหัสสัญชาติญี่ปุ่นที่นิยมที่สุดโปรแกรมหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งตัวโปรแกรมมีความสามารถในการปรับแต่งหลายอย่าง
    Cleaner 5 EZ : เป็นโปรแกรมจากบริษัท Discreet สามารถบีบอัดข้อมูลวีดีโอได้หลายแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่ใช้งานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปลั๊กอินแบบนี้จะแถมมากับ Adobe Premiere ฉบับลิขสิทธิ์



รูปแบบของไฟล์วีดีโอที่ใช้บนเว็บ
                        เป็นรูปแบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่สามารถนำมาแสดงผลบนเว็บได้เลย มีหลายรูปแบบโดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
    *.rm/ *.ra/ *.ram  เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัท RealNetwork นิยมใช้นำเสนอข้อมูลไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรม Real Player
    *.MPEG2 / *.MPEG4 เป็นฟอรแมตที่สามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรม Windows Media Player
    *.asf/ *.wmv เป็นฟอร์แมตที่คล้ายคลึงกับ *.MPEG2/ *.MPEG4 สามารถเปิดไฟล์ทั้งสองได้ด้วยโปรแกรม Windows Media Player เช่นกัน
    *.viv เป็นฟอร์แมตที่สามาถเปิดไฟล์ได้ด้วยโปรแกรม Vivo Active Player แต่ในปัจจุบันนี้ได้เลิกใช้ไปแล้ว
    *.mov เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัท Apple นิยมใช้นำเสนอข้อมูลไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรม Quick Time
    *.avi (Audio / Video Interleave)  เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์เรียกว่า Video for Windows มีนามสกุลเป็น *.avi ปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับชุด Microsoft Windows คือ Windows Media Player นั่นเอง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการับชมวีดีโอ
    Microsoft Windows Media Player : เป็นโปรแกรมมัลติมีเดีย โดยสามารถใช้เล่นไฟล์มัลติมีดีย เช่น *.asf, *.MPEG-1, *.MPEG-2, *.wav, *.avi, *.MIDI, *.vod, *.au, *.mp3 และ QuickTime เป็นต้น
    I-Video CD Player : เป็นโปรแกรมที่นิมยอีกอย่างเนื่องจากเป็นโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์เกี่ยวกับมัลติมีเดียได้มากมาย เช่น VideoCD, *.MPEG, *.avi, *.dat และ *.mov นอกจากนี้ยังสามารถขยายภาพจากปรกติให้เป็น 1 หรือ 2 เท่าและโปรแกรมนี้ยังเป็น Freeware อีกด้วย
    RealPlayer : เป็น player ที่สามารถรองรับการแพร่ภาพสด และเสียงสดแบบ Streaming บนอินเตอร์เน็ตได้
    QuickTime : เป็น Plug-in ที่แสดงผลใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ คล้ายกับ RealPlayer กล่าวคือใช้ในการชมวีดีโอ รวมทั้งการถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีการพัฒนาซึ่งมีความสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมเสียง (Audio Control) ระหว่างการชมวีดีโอ เช่นการปรับเสียงเบส ให้อยู่ระดับเสียงสูงและระดับเสียงต่ำได้
    Shockwave : เป็น Plug-in เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานสำหรับการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง และการสร้างปุ่มที่ใช้ในการทำงานต่าง ๆ ทั้งยังมีความสามารถในด้านการสร้างไฟล์ภาพยนตร์และการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเพื่อใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำขึ้นบนเว็บได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้นั้นจะมีการบีบอัดข้อมูลที่ประสิทธิภาพสูงจึงทำให้สามารถนำเสนอบนเว็บได้โดยไม่มีปัญหาในเรื่องขนาดของข้อมูล
    MBed : เป็น Plug-in ที่เพิ่มความสามารถในการแสดงภาพแบบ Streaming ที่เป็นทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงในรูปแบบของ “Mbedlets” โดยสามารถสร้างได้โดยโปรแกรม Mbed Interactor ซึ่ง Mbedlets สามารถทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยการคลิกเมาส์ หรือการพิมพ์ผ่านทางแป้น เมื่อมีการบันทึกจะได้ไฟล์รูปแบบ *.mdb

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น

  1. How does a virtual sports betting experience work? - Dr.MD
    If you want to bet on games, you need a virtual sports game 속초 출장샵 that 속초 출장마사지 you can participate 남양주 출장샵 in and that you can place real 보령 출장샵 money on the 계룡 출장샵 outcome. Virtual sports

    ตอบลบ