หลักการสร้างและออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์

   

  วิถีชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต มีความสัมพันธ์กับการออกแบบทั้งสิ้น เพราะในการดำรงชีวิตของเราจะต้องกำหนดวางแผน ในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ต่อสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำการใดๆ หากขาดการวางแผนหรือขั้นตอนการออกแบบแล้วก็อาจทำให้กิจกรรม หรือ งานนั้นประสบความสำเร็จได้ยาก ถ้าการออกแบบเป็นเงาตามตัวของชีวิตเรา




การออกแบบคืออะไร 
การออกแบบ คือศาสตร์แห่งการแก้ปัญหา ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยอาศัยความรู้ และหลักการของศิลปะ นำมาใช้ให้เกิดความสวยงาม และมีประโยชน์ใช้สอย

ความสวยงาม 
จะเน้นด้านจิตใจเป็นหลัก เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการ ตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงาม ได้เหมือนกัน ซึ่งผลจากการออกแบบจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสุข เกิดความพึงพอใจ การออกแบบประเภทนี้ ได้แก่ การออกแบบด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนงานออกแบบตกแต่งต่างๆ เช่น งานออกแบบ ตกแต่ง ภายในอาคาร งานออกแบบตกแต่งสวนหย่อม

ประโยชน์ใช้สอย 
ผู้ออกแบบโดยมากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นจุดมุ่งหมายแรกของการออกแบบ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีทั้งประโยชน์ในการใช้สอย และประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร
การออกแบบเพื่อ ประโยชน์ ในการใช้สอยที่ สำคัญ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ในการ ประกอบอาชีพทางการเกษตรมีแห อวน ไถ หรืออุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่น โต๊ะ, เก้าอี้. ตู้, ชั้นวางหนังสือ เป็นต้น ประโยชน์เหล่านี้จะเน้นประโยชน์ทางกายโดยตรง
ส่วน ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ส่วนใหญ่มักจะเน้นการสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพ ซึ่งสามารถรับรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

ซึ่งการออกแบบ โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชน ประโยชน์ด้านนี้จะเน้นทางด้านความศรัทธาเชื่อถือ และการ ยอมรับ ตามสื่อที่ได้รับรู้

หลักสำคัญของการออกแบบ
          การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง องค์ประกอบศิลป์ คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยมีหลักการ ดังนี้ 

          1. ความเป็นหน่วย (Unity) ในการออกแบบ   ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน   เป็นกลุ่มก้อน หรือมีความ สัมพันธ์กัน ทั้งหมดของงานนั้นๆ   และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับ   ในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน 
  
2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ   ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้ เป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ   มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ
             2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry  Balancing) คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา   บน-ล่าง   เป็นต้น   ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย
             2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Non-symmetry  Balancing) คือ มีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากัน   แต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัว   ลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของ ผู้พบเห็นด้วย   ซึ่งเป็น ความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้   เช่น   ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)
             2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity  Balance) การ ออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะ ต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง   ได้แก่ การไม่โยกเอียง  หรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง   ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้ว   ผู้ออกแบบ จะต้อง ระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก   ตัวอย่างเช่น   เก้าอี้จะต้องตั้งตรง   ยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน   การทรงตัวของ คน ถ้ายืน 2 ขา   ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน   ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา   น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่ง   และ ส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่ง จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูป ได้ถูกต้อง   เรื่อง ของจุดศูนย์ถ่วง จึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง 

 
3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity  of  Arts) 

ในเรื่องของศิลปะนั้น   เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอน   เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน   อันได้แก่
             3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ ( Emphasis  or  Centre  of  Interest) งาน ด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น   โดยมีข้อบอกกล่าว เป็นความรู้สึกร่วม ที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ   ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
             3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)  คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเอง   แต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับ   ซึ่ง อาจจะเป็นรองส่วนที่ ส่วนที่ 2 ก็ได้   ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง   ผู้ออกแบบจะต้อง คำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
             3.3 จังหวะ ( Rhythem)  โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ   ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดี   หรือสิ่งแวดล้อม ที่ สัมพันธ์ อยู่ก็ดี   จะเป็นเส้น   สี   เงา   หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง   แสงไฟ   ลวดลาย   ที่มีความสัมพันธ์กัน ในที่นั้น   เป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง
             3.4  ความต่างกัน ( Contrast)  เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไป   หรือเกิดความเบื่อหน่าย   จำเจ   ในการ ตกแต่ง ก็เช่นกัน   ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกัน   เช่น   เก้าอี้ชุดสมัยใหม่   แต่ขณะ เดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว   เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกัน   ทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก   รสชาติแตกต่างออกไป
             3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)   ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตก ต่างกัน   การใช้สีที่ตัดกัน   หรือ การใช้ผิว   ใช้เส้นที่ขัดกัน   ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วน รวม   ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอัน ได้แก่   เส้น   แสง-เงา   รูปทรง   ขนาด   ผิว   สี   นั่นเอง
การออกแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
 "เอกสารอิเล็กทรอนิกส์" เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ช่วยให้การปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยการนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำ การเก็บรักษา การส่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน ทั้งยังเป็นการลดปริมาณกระดาษลงสามารถสื่อสารผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว การจัดเก็บเอกสาร สามารถนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บ มาช่วยให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากขึ้นค้นหาได้ง่าย และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็วทันต่อความต้องการ ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และลดเวลาในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร 

 




ลักษณะและประเภทของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบโดยรวมถือว่าเป็นไฟล์ข้อมูลที่ถูกเขียน และบันทึกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ ไฟล์เอกสาร นามสกุล .txt, .rtf, ไฟล์เอกสารจากชุดโปรแกรม Microsoft Office หรือไฟล์เอกสาร .pdf
นอกจากนี้เอกสารหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญดังนี้
1.       สามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนเองสะดวก
2.       การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย
3.       ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
4.       สามารถทำสำเนาได้อย่างสะดวกทั้งสำเนาในรูปเอกสารและสำเนาลงในแผ่นซีดีรอม หรือสำเนาลงในฮาร์ดดิสก์
5.       ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านหัวข้อที่ตนสนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไปกลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
6.       สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกันหรือจะเลือกให้แสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
7.       สะดวกในการจัดเก็บข้อมูล สามารถเชื่อมโยง ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ เคลื่อนไหว และเสียงที่อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงหนังสือให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ ได้เป็นอย่างดี
8.       ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กำลังศึกษาจากไฟล์เอกสาร อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จำกัดจากทั่วโลก
หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

หลักการออกแบบ หมายถึง การนำองค์ประกอบมูลฐานมาจัดหรือรวบรวมเข้าด้วยกันอย่างมีระบบในงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่าง ๆ เพื่อให้การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังต่อไปนี้







1.    หลักความสมดุล (balance) หมายถึง การกำหนดและการจัดวางองค์ประกอบมูลฐานให้มีน้ำหนัก และขนาดในสัดส่วนที่เท่าๆ กันทั้งสองข้าง งานออกแบบขาดความสมดุลจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงแต่ผู้พบเห็น
2.    ความมีเอกภาพ (Unity)หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบให้มีการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่แตกแยก กระจัดกระจาย งานออกแบบขาดเป็นเอกภาพจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกแตกแยกและไม่น่าสนใจ
3.    การเน้นจุดแห่งความสนใจ (Emphasis)หมายถึง การสร้างจุดแห่งความสนใจให้เกิดขึ้นในงานออกแบบ โดยการกำหนดบริเวณใดบริเวณหนึ่งในภาพที่เหมาะสม ให้มีลักษณะพิเศษกว่าบริเวณอื่น เพื่อให้ดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน
4.    ความมีสัดส่วน (Proportion) หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ของขนาด รูปร่างขององค์ประกอบ เช่น ตัวอักษร รูปภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างด้านกว้างและด้านยาวของสิ่งพิมพ์
5.    จังหวะ (Rhythm) ได้แก่ การวางองค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะให้มีระยะตำแหน่งขององค์ประกอบเป็นช่วงๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวต่อเนื่องและความมีทิศทางแก่ผู้อ่าน
6.    ความเรียบง่าย (Simplicity) การวางองค์ประกอบในการจัดภาพ ควรเน้นที่ความเรียบง่ายไม่รกรุงรัง เพราะแม้ว่านักออกแบบจะสามารถออกแบบให้ผลงานหรูหรา แต่หากไม่สามารถสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการ ก็สูญเปล่า ดังนั้น หลักความเรียบง่ายของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน

หลักการพัฒนาสื่อเอกสารเว็บและบทเรียนออนไลน์
 
 โครงสร้างเว็บไซท์ (Site Structure) เป็นแผนผังของการลำดับเนื้อหาหรือการจัดวางตำแหน่งเว็บเพจทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเว็บไซท์ประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง และมีเว็บเพจหน้าไหนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างเว็บไซท์จึงเป็นเรื่องสำคัญ เปรียบเสมือนการเขียนแบบอาคารต่างๆ ก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะจะทำให้เราสามารถมองเห็นหน้าตาเว็บไซท์เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถออกแบบเนวิเกชั่นได้เหมาะสมได้เหมาะสม และมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจนสำหรับขั้นตอนต่อๆ ไป นอกจากนี้โครงสร้างเว็บไซท์ที่ดียังช่วยให้ผู้ชมไปสับสน และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว.

ในการจัดทำเว็บไซต์การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นแบบ web-based หรือแบบ e-learning(e-training) สิ่งสำคัญนั่นคือการจัดวางโครงสร้างของเว็บ ซึ่งการจัดโครงสร้างเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายแบบ
แต่แนวคิดหลักๆ ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบคือ (ในทางปฏิบัติอาจมีการใช้หลายแนวคิดผสมผสานกันก็ได้)
- จัดตามกลุ่มเนื้อหา (Content-based Structure)
- จัดตามกลุ่มผู้ชม (User- based Structure) 

 

  

ขั้นตอนการออกแบบสื่อเอกสารเว็บไซต์ (web document) และบทเรียนออนไลน์ให้น่าสนใจ

ในการสร้างหน้าเอกสารเว็บ ด้านการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอนที่มีความพร้อมด้วยองค์ประกอบด้านสาระเนื้อหา ที่สนองต่อการพัฒนาด้านทักษะ ความรู้ ในการสร้างหน้าเว็บการเรียนรู้หรือบทเรียนออนไลน์ที่ดีนั้น ไม่ได้มาจาก แค่มีความพร้อมเฉพาะแค่เครื่องมือ หรือุปกรณ์ที่ดีเท่านั้น แต่ยังต้องพึ่งพาปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง อาทิ ความสามารถในการสร้างงานของครูผู้พัฒนา ความพร้อมของโปรแกรม ความพร้อม ความสมบูรณ์ของ สาระเนื้อหาที่ผ่านกระบวนการจัดการตามเงื่อนไขการสร้างบทเรียนออนไลน์ และที่สำคัญหากบทเรียน มีเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก การสร้างผังโครงเรื่องก็จะเป็นส่วนกำกับติดตามการพัฒนาบทเรียนให้สำเร็จลุลวงได้
 


ดังนั้นเรามาดูสรุปกันว่า ความพร้อมตามที่กล่าวมานี้ จะมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง 
1.       เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมหลัก รวมถึงโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างงาน
2.       ข้อมูลเนื้อหาสาระที่ผ่านการวิเคราะห์ การจัดทำโครงสร้าง และทอนเนื้อหาให้พอดีกับการนำเสนอ ในแต่ละหัวเรื่อง
3.       แผนงาน ลำดับขั้นการดำเนินงาน การสร้างบทเรียน
4.       diagram หรือ site course เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของการเชื่อมโยงตลอดทั้งบทเรียน
5.       storyboard หากต้องการให้บทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด ครูผู้พัฒนาควรกำหนดกรอบการสร้างงาน ให้อยู่ในรูปของ storyboard หรือรายละเอียดของเนื้อหา
6.      
แบบโครงร่างหน้าบทเรียนออนไลน์ในแต่ละหน้า
 ควรสัมพันธ์กับเงื่อนไขขององค์ประกอบหลักของฐานการเรียนรู้ที่นำไปวางด้วย

นอกจากนี้ต้องดูภาพรวมที่ปรากฏบนหน้าจอว่า ส่วนแสดงเนื้อหา มีความสมดุลกับพื้นที่ของการแสดงผล ทั้งในส่วนของ navigation ตำแหน่งของภาพ หรือ กราฟิก ที่นำมาวางประกอบ  นอกจากองค์ประกอบทั้ง 6 ส่วน ตามที่กล่าวมาข้างต้น ชิ้นงานที่สร้างขึ้นในแต่ละหน้าเอกสารเว็บ เพื่อให้สื่อเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นนั้นมีคุณภาพ ภาพรวมที่ดูดี น่าสนใจต่อการเรียนรู้ ผู้สร้างงานควรให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้

1. มีส่วนรายการเนื้อหาหรือสารบัญสารบัญหรือที่เรียกว่า เมนู ควรแสดงรายการในแต่ละเรื่อง หรือแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน เรียงตามลำดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนได้อย่างครบถ้วน
2. มี navigation ที่ดี navigation หรือส่วนนำทางไปยังเนื้อหา ที่ถือเป็น links เชื่อมโยงนั้น จะต้องมีความถูกต้องของหน้าเนื้อหา เป้าหมายปลายทาง และจะต้องมีความรวดเร็วในการแสดงผล ต้องสามารถไปและกลับไปยังตำแหน่งต่างๆ ตลอดทั้ง site โดยเฉพาะหน้าแรกของบทเรียนด้วย
3. มีเนื้อหาที่ชัดเจน หน้าเนื้อหาที่ถูกเชื่อมผ่านเข้ามา ต้องนำเสนอข้อมูลที่สั้นแต่พร้อมด้วยความหมายที่ครบถ้วน ไม่ควรใช้ข้อความ ซ้ำซ้อนฟุ่มเฟือยจนเกินไป
4. ภาพประกอบที่น่าสนใจ การเลือกภาพนำมาประกอบในเนื้อหานั้นจะช่วยให้การอธิบายความในเนื้อหาลดน้อยลง ที่สำคัญเป็นการช่วยสร้าง บรรยากาศที่ดีให้ความรู้สึกต่อการมองหน้าจอที่ไม่เครียดจากตัวอักษร ข้อความมากเกินไป แต่การเลือกใช้ภาพประกอบต้องระวังขนาดของภาพที่เกินความจำเป็น เพราะอาจจะเป็นอุปสรรคในการแสดงผลที่ช้าลง
5. มีปฎิสัมพันธ์และเป็นมิตรกับผู้ใช้ web site ที่ดีต้องสามารถเป็นเพื่อนกับผู้ใช้ได้ตลอดเวลา ไม่มีสภาพการขัดแย้ง หรือไม่ตอบสนองเมื่อผู้ใช้ต้องการเชื่อมไปยังหน้าข้อมูลอื่นๆ จุดเชื่อมโยงที่แสดงไว้ต้องสามารถเชื่อมไปได้ หากจุดนั้นยังไม่เสร็จ ไม่สามารถแสดงผลได้ควรถอดหัวข้อพร้อมถอด links ออกหากไม่สามารถถอดหัวข้อ และ links ออกได้ควรแสดงหน้า web พร้อมแสดงสภาพของ under construction ให้ผู้ชมทราบ และควรบอกกำหนดเวลาที่คาดว่าจะเสร็จด้วย

          6. มีรูปแบบที่คงตัวและคงที่ ภาพรวมของหน้า web ที่แสดงขึ้นต้องภายใต้กรอบและฟอร์มเดียวกัน ทั้งเมนู การใช้สี การใช้รูปแบบ และขนาดตัว อักษรที่ไม่แตกต่างไปจากกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ชมหรือมาเรียนรู้ ได้รับรู้อารมณ์ของหน้าเอกสารเว็บหรือบทเรียน และเรื่องราวที่นำเสนอได้ ผู้สร้างบทเรียนจึงควรเลือกสีให้เหมาะสมกับเนื้อหา แต่ละสีให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
          

7. การออกแบบหน้าเนื้อหาบทเรียนที่ดี หากได้มีการวางแบบที่ดีด้วยหน้าที่สอดคล้องกันทั้งฉากหลัง สีตัวอักษร ภาพประกอบ จะทำให้หน้าเอกสารเว็บบทเรียนนั้น ดูน่าสนใจ น่าเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ดู.. ตัวอย่างการวางโทนสี จากแบบจำลองหน้าเอกสารเว็บด้านล่าง ให้ท่านลองคลิกเลือกรายการสีเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
วิธีการที่ดีที่สุดในการออกแบบหน้าเอกสารเว็บหรือบทเรียนก็คือการใช้หน้าแม่แบบหรือ template นั่นเอง 
8. การเข้าถึงเนื้อหาที่รวดเร็ว การเข้าถึงเนื้อหา เป็นอีกสิ่งที่ผู้ออกแบบเนื้อหาออนไลน์ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ผู้เข้าชมหรือมาเรียนรู้เนื้อหาต้องสามารถเข้าสู่หน้าเอกสารเว็บ ตามต้องการได้อย่างรวดเร็ว หรือ ทันทีทันใด ซึ่งนับเป็นเสน่ห์สำคัญ หากใช้เวลานานเกินไป อาจจะเป็นสาเหตุของความตั้งใจการเฝ้าการเข้าถึงนั้นหมดไป
9. มีส่วนช่วยเหลือ หากบทเรียนที่สร้างมีความสลับซับซ้อน มีกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีประสิทธิผล ผู้สร้างควรมีหน้าคำแนะนำการเรียนรู้ รวมถึง ชี้แจงกระบวนการ หรือขั้นตอนการเรียนรู้ ไว้ด้วย
10.. มีส่วนชี้นำให้ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้อื่น บทเรียนออนไลน์ที่ดี ควรมีส่วนรวบรวม แนะนำให้ผู้เรียนได้ไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ในเรื่องหรือส่วนขยายอื่นๆ นอกจากนี้เนื้อหาของบทเรียน หากได้นำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ควรทำการอ้างอิงไปยังแหล่งที่นำเนื้อหา หรือข้อมูลที่นำมาใช้ในบทเรียนด้วย

 

หลักการออกแบบเอกสารเว็บและบทเรียนออนไลน์
เราสามารวางรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ได้หลายแบบ ตามความเหมาะสมของงานที่สร้างขึ้น เช่น

1 . Sequences
ลักษณะโครงสร้าง




เป็นรูปแบบพื้นฐานทั่วไป ที่ผู้เริ่มเรียนรู้การสร้าง web มัก นิยมเป็นรูปแบบเบื้องต้นในการฝึกหัด หรือใช้กับ web ที่นำเสนอข้อมูลแบบเรียงหน้าไปตาม ลำดับหรือเป็นการเสนอเนื้อหาเดี่ยวต่อเนื่องกันไป รูปแบบนี้บางที่เรียกว่าแบบ Linear โดยมีทั้ง การออกแบบไปหน้าทางเดียวและการออกแบบที่สามารถย้อนกลับหน้าได้ 
- แบบ เดินไปทางเดียว (Straight line or sequential links) เป็นลักษณะการดำเนินเรื่องจากหน้า-แรกไปยังหน้าถัดไปเรื่อยๆจนจบการย้อนกลับหน้าที่ผ่านมา จะอาศัยคุณลักษณะของ โปรแกรม web browser ที่ปุ่ม back ได้เท่านั้น
- แบบย้อนกลับได้ (Linear reciprocal links)เป็นลักษณะคล้ายแบบแรก แต่จะมีส่วนควบคุมการเดินหน้าและถอยหลัง ไปยังหน้าแรก หรือหน้า สุดท้ายในหน้า web ที่สร้างได้เลย
ข้อจำกัด 
การย้อนกลับไปสู่หน้าแรกหรือหน้าสุดท้ายทำได้ลำบาก 

2.Linear with side blanches
ลักษณะโครงสร้าง





ลักษณะโครงสร้างของ web เป็นรูปแบบ Sequences ที่แสดง เนื้อหาต่อเนื่องมาตามลำดับ รูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กระบวน การควบคุมหน้าด้วยการกำหนดปุ่ม หรือตัวนำทางเพื่อควบคุม การเดินหน้าและถอยหลังเมื่อถึงส่วนอ้างอิง หรือเนื้อหาพิเศษ (หน้าสีน้ำตาลและสีชมพู) จะมีหน้าที่แยกเป็นสาขาออกจากหน้า เนื้อหาหลัก
3. Combination

              ลักษณะโครงสร้าง




               ลักษณะการทำงานเลียนแบบหน้าหนังสือที่เนื้อหานั้นมีความต่อเนื่องกันโดยตลอด แต่ก็สามารถที่จะเลือกเนื้อหาในเรื่องใดๆก่อนได้โดยอิสระ โดยเลือกผ่านระบบเมนูเลือกเนื้อหา ลักษณะ โครงสร้างเบื้องต้น จะเหมือนแบบ Hierarchies ที่ต่างมีเมนู หัวข้อหลักที่เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง ซึ่งเมื่อเข้าสู่หน้าเนื้อหา (สีฟ้า) จะมีลักษณะคล้ายกับแบบ Sequences ที่สามารถผ่าน เนื้อหาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องกลับไปที่หน้าเมนูหลักโดยจะมี ส่วนเชื่อมไปยังเนื้อหาเรื่องหรือหัวข้อต่อไปได้เลยตามลำดับ 

4. Hierarchies

               ลักษณะโครงสร้าง







เป็นรูปแบบโครงสร้างที่เหมาะกับ website ที่มีเนื้อหา ย่อยหลายๆเรื่อง โดยที่เนื้อหานั้นอาจจะไม่สัมพันธ์กัน เป็นรูปแบบที่ผู้สร้างส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้มากที่สุด  ลักษณะโครงสร้างนี้ จะแยกเป็นสาขาในแต่ละเนื้อหาเป็น ลำดับชั้น เหมาะใช้กับ web ที่มีกลุ่มเนื้อหามาก หรือมี หลายกลุ่ม หลายรายละเอียด 
ข้อจำกัด รูปแบบนี้หากลำดับชั้นข้อมูลมีความลึกมาก การกลับสู่ หน้าเมนูหลักจะทำได้ลำบาก จึงควรหา navigation รูป แบบอื่นมาสนับสนุน

5. Webs 
ลักษณะโครงสร้าง

 






เป็นรูปแบบที่ใช้ลักษณะการผสมผสานระหว่าง Sequences และ Hierarchies เข้าด้วยกันตลอดทั้งโครงสร้าง ทำให้รูปแบบนี้มีประสิทธิภาพในการเชื่อมเข้าหาเนื้อหาในทุกส่วนของ web site ได้อย่างอิสระ
ข้อสังเกต
การสร้างต้องทำการออกแบบและวางแผนอย่างละเอียด เพราะ อาจทำให้ระบบการวางคำสั่งการเชื่อมโยงผิดพลาดได้ง่าย



ขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์
ในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์นั้น มีหลากหลายรูปแบบหรือวิธีการ ซึ่งในแต่ละรูปแบบหรือวิธีการก็มีขั้นตอนที่อาจจะคล้ายกัน หรือแตกต่างกันในบางส่วน แต่ในภาพรวมนั้นไม่ได้หนีไปจากกันมานัก เราลองมาศึกษาขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ในรูปแบบตัวอย่างต่อไปนี้กัน  ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้นตอน
1. ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลสาระเนื้อหา (Preparation)
2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design web-page Instruction)
3. ขั้นตอนวางกรอบเนื้อหาและเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
4. ขั้นตอนการสร้างหน้าเอกสารเว็บ (Create Web-page)
5. ขั้นตอนการเผยแพร่ทดสอบ (Publish)
6. ขั้นตอนการประเมินหรือปรับปรุง (Evaluate and Revise)


ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลสาระเนื้อหา (Preparation)
ขั้นแรกในการออกแบบบทเรียนเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการออกแบบบทเรียน ผู้ออกแบบต้องเตรียมพร้อมในเนื้อหาข้อมูลให้ชัดเจน การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิดในที่สุด ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญและใช้เวลามาก จะทำงานตามขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives)
ใน การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบทเรียน คือการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนสามารถใช้บทเรียน เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง การกำหนดเป้าหมายยังรวมถึงการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานของผู้เรียนด้วย เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนด
2. รวบรวมข้อมูล (Collect Resources)
การรวบรวมข้อมูล หมายถึงการเตรียม พร้อมทางด้านของทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในส่วนของเนื้อหา (Materials) การพัฒนาและการออกแบบ (Instructional Development) และสื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Delivery System)
3. เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content)
ผู้ออกแบบบทเรียนต้องรู้และมีความเข้าใจในเนื้อหาและความรู้ด้านการออกแบบบทเรียน หรือจะทำงานเป็นทีม เพื่อให้การออกแบบและเนื้อหาจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สร้างความคิด (Generate Ideas)
การสร้างความคิดคือการระดมสมองเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งแนวคิดที่ดีและน่าสนใจที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
ในขั้นนี้จะเป็นการทอนความคิด การวิเคราะห์งานและแนวคิดการออกแบบบทเรียนขั้นแรก การประเมินผลและการแก้ไขการออกแบบ จะทำงานดังนี้
1. ทอนความคิด (Elimination of Ideas)
หลังจากการระดมสมองแล้ว ต้องนำ ความคิดทั้งหมดมาประเมินเพื่อดูข้อคิดที่น่าสนใจ การตัดความคิดที่ทำไม่ได้ออก
2. วิเคราะห์งานและแนวคิด (Task and Concept Analysis )
การวิเคราะห์เป็น การพยายามวิเคราะห์ขั้นตอนเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องศึกษาจนทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาต้องทำอย่างละเอียด ส่วนใดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือส่วนที่อาจก่อให้เกิดความสับสนก็ให้ตัดออก
3. การออกแบบบทเรียน (Preliminary Lesson Description)
หลังจากได้มีการวิเคราะห์งานและแนวคิด ผู้สร้าง/ผู้ออกแบบต้องนำงานและแนวคิดทั้งหลายมาผสมผสาน ทำการแบ่งแยกเนื้อหาออกมาให้เป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบต้องจัดการให้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท การจัดรูปร่างให้ออกมาอย่างไรบ้าง ถึงจะให้เกิดความน่าสนใจในการเรียน โดยการสร้างสรรค์งานหรือจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้มีความน่าสนใจ ซึ่งเนื้อาที่แสดงในแต่ละหน้า ไม่ควรให้ยาวจนเกินไป แม้ว่าหน้าเอกสารเว็บสามารถที่จะ scroll ลงมาได้ก็ตาม
4. ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design)
การประเมินและแก้ไขการออกแบบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการออกแแบบทเรียนอย่างมีระบบ การประเมินต้องมีการทำอยู่เป็นระยะ ๆ ระหว่างการออกแบบ ไม่ใช่หลังจากที่ออกแบบโปรแกรมเสร็จแล้วเท่านั้น การประเมินผลรวมถึงการทดสอบผู้เรียนว่าสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุเป้าหมายหรือไม่ การรวบรวมทรัพยากรด้านข้อมูลต่างๆให้มากขึ้น การเพิ่มเติมเนื้อหา ทั้งในส่วนของบทเรียน ส่วนอ้างอิง ส่วนเชื่อมโยงไปสู่แหล่งความรู้ในเว็บไซต์ต่างๆ นำทุกส่วนมาพิจารณาอีกครั้ง หากพบส่วนที่จะเป็นอุปสรรคก็ปรับแก้วิเคราะห์งานหรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการวางกรอบเนื้อหาและเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
ผังงานก็คือ ส่วนโครงสร้างของสาระเนื้อหาที่กำลังจะพัฒนาซึ่งจะแสดงขั้นตอนการสร้างงาน การเขียนผังงานจะช่วยให้เข้าใจลำดับการสร้างบทเรียนที่ชัดเจนและง่ายต่อการตรวจสอบ แก้ไขได้อย่างรวดเร็วในภายหลัง การเขียนผังงานมีหลายระดับแตกต่างกันไปแล้วแต่ความละเอียดของแต่ละเนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถนำผังงานมาพิจารณาความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ การเข้าถึงเนื้อหา เพราะหากบทเรียนมีความลึกมาก ก็อาจจะเป็นอุปสรรคและปัญหาของการควบคุมลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ได้
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการสร้างหน้าเอกสารบทเรียน ( web document Lesson)
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการเปลี่ยนต้นฉบับหรือโครงร่างให้เป็นหน้าเอกสารเว็บ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบบทเรียนจะต้องรู้จักเลือกใช้โปรแกรมการเขียนเอกสารเว็บที่ถนัดและเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลาย อาทิ Adobe Dreamweaver , Namo Editor, Edit Plus นอกจากนี้ยังจะต้องมีความรู้ในการใช้โปรแกรมประเภท Image editor หรือโปรแกรมสำหรับตกแต่ภาพ โปรแกรมสร้าง animation รวมถึงต้องเข้าใจภาษา html ภาษาสคริป (Script) เป็นต้น
เสน่ห์สำคัญของบทเรียนออนไลน์ ที่ไม่มีในสื่อการเรียนรู้ประเภทอื่นๆก็คือ ผู้สร้างสามารถที่จะปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ลดทอนสาระเนื้อหาได้โดยง่าย
 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการเผยแพร่ทดสอบบทเรียน ( Publish)
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการนำเอาสาระการเรียนรู้ที่ได้สร้างขึ้น นำเข้าสู่ระบบ ซึ่งกลไกการเข้าสู่ระบบ มีหลายวิธีการ ได้ทั้งการ upload ผ่านโปรแกรมประเภท file transfer ต่างๆ หรือ ผ่านระบบของ web-based learning ที่ได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนการประเมินหรือแก้ไขบทเรียน(Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้าย บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินในส่วนของการนำเสนอและการทำงานของบทเรียน ในช่วงการนำเสนอนั้นผู้ที่ควรจะทำการนำเสนอก็คือผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะทำการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ในขณะที่ใช้บทเรียนหรือสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียน โดยผู้เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจครอบคลุมการทดสอบนำร่องและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญได้


ที่มา  http://teacher80std.blogspot.com

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น