คิวรี (Query) เป็นการกรองข้อมูลที่ต้องการจากตาราง แสดงจากฐานข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมาก
โดยแบ่งประเภทของคิวรี ดังนี้
1. คิวแบบใช้เลือกข้อมูล (Select Query) ใช้สำหรับแสดงข้อมูลโดยดึงข้อมูลจากตารางเดียวหรือหลายตารางก็ได้
2. คิวรีแบบตาราง (Crosstab Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับคำนวณและจัดโครงสร้างข้อมูลใหม่ โดยสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบและดูแนวโน้มของข้อมูลได้ เช่น แสดงยอดขายในแต่ละเดือน
3. คิวรีพารามิเตอร์ (Parameter Query) เป็นคิวรีที่มีการแสดงไดอะล็อกบ็อกโต้ตอบโดยการใส่ค่าพารามิเตอร์เพื่อถามข้อมูลจากผู้ใช้งาน เช่น ป้อนรหัสสมาชิก
4. คิวรีแอคชัน (Action Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
- คิวรีแบบใช้สร้างตาราง
- คิวรีแบบใช้ลบข้อมูล
- คิวรีแบบใช้ผนวกข้อมูล
- คิวรีแบบใช้ปรับปรุงข้อมูล
5.คิวรีแบบ SQL เป็นคิวรีที่สร้างด้วยการใช้คำสั่งภาษา SQL
ประโยชน์ของ Query
ประโยชน์ของ Query
1. แสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ
2. รวมข้อมูลจากหลาย ๆ Table แล้วให้แสดงข้อมูลเพียง Table เดียว
3. จัดกลุ่มของข้อมูล
การสร้างคิวรีโดยใช้ตัวช่วย
1. คลิกที่เมนู สร้าง (Create)
2. เลือก ตัวช่วยสร้างแบบสอบถาม (Query Wizard)
3. เลือก ตัวช่วยสร้างแบบสอบถามอย่างง่าย (Simple Query Wizard)
4. คลิก OK
5. เลือกตารางสินค้า และตารางประเภทสินค้า
6. ตาราง tbl_product เลือกฟิลด์ product_ID และ product_name ตาราง tbl_type เลือกฟิลด์ type_name
7. คลิกปุ่ม Next ถัดไป
8. ตั้งชื่อคิวรี qry_product_type
9. คลิกปุ่ม Finish
6. ตาราง tbl_product เลือกฟิลด์ product_ID และ product_name ตาราง tbl_type เลือกฟิลด์ type_name
7. คลิกปุ่ม Next ถัดไป
8. ตั้งชื่อคิวรี qry_product_type
9. คลิกปุ่ม Finish
ตัวอย่าง
สร้างคิวรีในมุมมองออกแบบ Query Design
1. คลิกที่เมนู สร้าง (Create)
2. เลือก มุมมองออกแบบ (Query Design)
3. เลือกตารางตาราง tbl_product tbl_product ตาราง tbl_type
4. คลิก เพิ่ม (Add)
5. คลิกแล้วลาก ฟิลด์ product_ID , product_name , product_price จากตาราง tbl_product
เลือกฟิลด์ type_name จากตาราง tbl_type
6. คลิกปุ่ม เรียกใช้ (RUN)
ตัวอย่าง คิวรี
การบันทึกคิวรี
1. คลิกที่ไอคอน บันทึก
2. ตั้งชื่อให้กับคิวรี qry_product_type1
3. คลิกปุ่ม ตกลง OK
ตัวอย่างการกำหนดเงื่อนไขใน Query เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
แบบที่ 1 แสดงข้อมูลเฉพาะประเภท Seafood
แบบที่ 2 ให้แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S
แบบที่ 3 ให้แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S และอยู่ในประเทสินค้า Seafood
แบบที่ 4 แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือสินค้าประเภท Beverages
แบบที่ 5 แสดงประเภทสินค้า Seafood หรือ Beverages
แบบที่ 6 สร้างเงื่อนไขข้อมูลประเภทตัวเลข
เครื่องหมายเปรียบเทียบที่สามารถใช้ได้
เครื่องหมาย | ความหมาย |
> | มากกว่า |
< | น้อยกว่า |
>= | มากกว่าหรือเท่ากับ |
<= | น้อยกว่าหรือเท่ากับ |
<> | ไม่เท่ากับ |
Between 1 and 3 แสดงค่าตั้งแต่ 1 ถึง 3
In(1,2) แสดงค่า 1 หรือ 2
Not Seafood แสดงค่าที่ไม่ใช่ Seafood
In(1,2) แสดงค่า 1 หรือ 2
Not Seafood แสดงค่าที่ไม่ใช่ Seafood
การสร้างเงื่อนไขแบบมีพารามิเตอร์
ข้อความที่จะกำหนดให้เป็น Parameter จะต้องพิมพ์ให้อยุ่ภายในเครื่องหมาย [] เท่านั้น
และอักษรตัวแรกจะต้องไม่เว้นวรรคกับ [ ห้ามใช้เครื่องหมาย ! หรือ . ภายใน Parameter
ข้อความที่จะกำหนดให้เป็น Parameter จะต้องพิมพ์ให้อยุ่ภายในเครื่องหมาย [] เท่านั้น
และอักษรตัวแรกจะต้องไม่เว้นวรรคกับ [ ห้ามใช้เครื่องหมาย ! หรือ . ภายใน Parameter
1. Design Query ที่ต้องการจะกำหนด Parameter
2. คลิกเมาส์ในช่อง Criteria ของ Field ที่กำหนด Parameter
1. โปรแกรมจะแสดง Input Box และมีข้อความที่ได้ตีพิมพ์ใน Parameter Query ขึ้นมาให้ ให้ทำกาป้อนเงื่อนไขที่ต้องการในช่องว่าง แล้วคลิกปุ่ม ok
2. จากนั้น Query ก็ทำการแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ได้พิมพ์เข้าไปใน Parameter
หมายเหตุ
กรณีที่เราไม่สามารถจำชื่อเต็มที่จะใช้เป็นเงื่อนไขได้ เช่น ต้องการหาสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ของ คอมพิวเตอร์ แต่จำไม่ได้ว่าสะกดอย่างไร จึงอยากจะพิมพ์ ค* แต่ถ้าเป็น Parameter จะพิมพ์ไม่ได้ นอกจากใน Design Query จะต้องใส่ Like หน้า Parameter นั้นๆ เช่น Like [ป้อนประเภทของหนังสือ]
0 ความคิดเห็น