อีบุ๊คจะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการทำเพลท ยิงฟิล์ม ด้วยความที่มีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ต้องเปิดอ่านจากหน้าจอ คอมพิวเตอร์ จึงเป็นที่มาของ eBook อีบุ๊คในปัจจุบันมีหลายแบบ ตามแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน เมื่ออีบุ๊คเป็นไฟล์เอกสารประเภทหนึ่ง จึงสะดวกในการพกพา จำหน่าย จ่ายแจก สามารถรับส่ง ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ก็อปปี้ไปใช้งานระหว่างเครื่องได้
บุ๊คหรือหนังสือจริงๆ
จะมีส่วนประกอบมีหน้าปก มีคำนำ สารบัญ เนื้อหาแยกเป็นบทๆ พิมพ์ลงกระดาษจริงๆ
เป็นรูปเล่มที่จับต้องได้ ส่วนอีบุ๊คจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างแต่ เป็นไฟล์เอกสารที่ต้องอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
ต้องเปิดเครื่องก่อนจึงจะอ่านได้
สะดวกตรงที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เก็บเหมือนหนังสือจริงๆ ในคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
เก็บหนังสือทั้งห้องสมุดได้สบายๆ ถ้าทำเป็นอีบุ๊ค
แต่การอ่านต้องอ่านจากจอคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือคอมพิวเตอร์มือถือพวก O2, HTC, Hp
หรือมือถือแบบสมาร์ทโฟนที่มีโอเอสเป็นซิมเบียน Nokia ตระกูล N
ทั้งหลาย ต้องใช้มือถือประเภทนั้น
ก็จะสามารถพกพาอีบุ๊คติดตัวไว้อ่านได้
อีบุ๊ค (E-Book) ในปัจจุบันมีหลายแบบ ตามแต่วัตถุประสงค์และความต้องการในการใช้งน
1. อีบุ๊คแบบคลาสิกไฟล์แบบ PDF
ข้อดีของอีบุ๊คแบบนี้ก็คือไฟล์มีขนาดเล็ก การก็อปปี้จำหน่ายจ่ายแจก สามารถทำได้ง่าย ด้วยรูปแบบในไฟล์ที่ยังคงหน้าตาแบบหนังสือจริงๆ จึงสามารถพิมพ์ลงกระดาษเป็นเอกสารที่เหมือนหนังสือจริงๆ ในโรงเรียนอาจนำหนังสือเรียน มาจัดทำเป็นอีบุ๊คแบบนี้ ใครต้องการอ่านจากหน้าจอ ก็สามารถอ่านได้ หรือจะพิมพ์ลงกระดาษไปอ่านที่บ้าน ก็สามารถทำได้? ถ้าหน่วยงานรัฐนำหนังสือเรียนมาทำเป็นไฟล์แบบนี้ ก็น่าจะช่วยลดการพึ่งพาหนังสือเรียนไปได้เยอะ เหมาะสำหรับโรงเรียนที่งบประมาณจำกัด ถ้ามีไฟล์อีบุ๊คแบบนี้แล้ว การพิมพ์ลงกระดาษด้วยเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ดีๆ ต้นทุนหมึกพิมพ์ในปัจจุบันจะน้อยมาก เพราะสามารถใช้หมึกแบบเติมได้ ช่วยโรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ใคร? ขาดรายได้จากการขายตำราเรียน
2. อีบุ๊คยุคใหม่ สไตล์มัลติมิเดีย
เป็นการเพิ่มความสามารถ ลูกเล่นให้อีบุ๊คดูน่าสนใจ น่าอ่าน หรือสะดวกในการอ่านมากกว่าเดิม เช่น มีภาพ มีเสียง ไฟล์วิดีโอภาพเคลื่อนไหวประกอบเข้าไปในอีบุ๊คในหน้าต่างๆ ทำให้อีบุ๊คดูมีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ สำหรับเด็กเล็กจะได้ผลดี ส่วนเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะเป็นอีบุ๊คในแนวปฏิบัติมากกว่า อาจเป็นขั้นตอนการผลิต หรือการสร้าง การทำงานบางอย่าง ซึ่งสามารถบันทึกเป็นไฟล์วิดีโอ แล้วนำมาใช้กับอีบุ๊คแบบนี้ได้
ในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตอีบุ๊คแนวนี้มากขึ้น ตัวอย่างอีบุ๊คแบบนี้จะใช้โปรแกรมเฉพาะทางเช่น โปรแกรมตระกูล Flip Album, หรืออาจนำโปรแกรมมัลติมิเดียมาประยุกต์สร้างอีบุ๊ค อาจเป็น Authorware, Flash
การสร้างอีบุ๊คแบบนี้ค่อนข้างยากต้องเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก แต่ละโปรแกรมก็ยากๆ ทั้งนั้น
ตัวอย่างอีบุ๊คที่มีลักษณะที่เรียกว่า Flip Album หน้าตาสวยงาม เมื่อคลิกเพื่อเลื่อนหน้ากระดาษ หน้าก็จะเคลื่อนไหวในลักษณะการเปิดหน้ากระดาษ บางโปรแกรมจะมีเสียงประกอบ
อีบุ๊คบางเล่มจะเป็นภาพเคลื่อนไหว
พร้อมเสียงประกอบ เช่น นกกางเขน อีบุ๊คเล่มนี้ จะมีเสียงบรรยาย
ถ้าไม่อยากอ่านเนื้อหาในเล่ม เหมาะสำหรับเด็กเล็กๆ ภาพนกก็เป็นภาพเคลื่อนไหวได้
มีเสียงร้องที่เหมือนนกกางเขียนจริงๆ การสร้างอาจใช้โปรแกรม Flash ดูจะทำได้ง่ายที่สุด
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1. โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer
2. โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
3. โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player
อ้างอิง
ธันยะวีร์ ค้าขาย. บทเรียนออนไลน์เรื่อง การสร้าง e-book ด้วยโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro. เข้าถึง
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2555. เข้าได้จาก http://www.srb1.go.th/anuban/e_book/meanebook.htm.
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. อีบุ๊ค (eBook) คืออะไร. เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2555. เข้า
ได้จาก http://www.edba.in.th/EDBA_Main/index.php?
ption=com_content&view=article&id=713
ได้จาก http://www.edba.in.th/EDBA_Main/index.php?
ption=com_content&view=article&id=713
0 ความคิดเห็น